Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)

ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์




                  กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง 
                  ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ

 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัย
สามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้


1. ทักษะการสังเกต (Observing)
2. ทักษะการวัด (Measuring)
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
4. ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
5. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
6. ทักษะการสื่อสาร (Communicating)


            การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

        สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น

การเรียนรู้ หน่วยน้ำ 
           ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการกรองน้ำ

การเรียนรู้ หน่วยผลไม้ 
          ครูอาจจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

ขั้นที่ 1 พ่อแม่ควรสังเกตความสนใจของลูก ว่าลูกมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเรื่องใดบ้าง ซึ่งสามารถพบได้จากการคำพูด การสนทนาในชีวิตประจำวันของลูกกับพ่อแม่

ขั้นที่ 2 สร้างเสริมประสบการณ์ในเรื่องที่ลูกสนใจ โดยบูรณาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ

ขั้นที่ 3 พ่อแม่ควรสรุปความรู้หรือความคิดรวบยอด หลังจากที่เด็กได้ทดลองหรือสืบค้นข้อมูลเพียงพอแล้ว เช่น การอธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชจากองค์ประกอบของการดูแลที่แตกต่างกัน 

ประโยชน์ของการทดลอง
  • ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ
  • ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด 
  • ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ 
  • ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา 
  • ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
  • ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง
  • ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
  • ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักรอคอย แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือทำงานร่วมกัน
  • ส่งเสริมให้เด็กลดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ เช่น กลัวความมืด กลัวเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายในการทำงาน อีกทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆอีกด้วย

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน

ผู้วิจัย : ศศิพรรณ สําแดงเดช

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



ความมุ่งหมายของวัจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพนฐานทางว ิทยาศาสตร ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การทดลองหลังการฟงนิทาน กอนและหลังการทดลอง  
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวยที่ไดรับ การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน กอนและหลังการทดลอง

ความสําคญของการวิจัย 

          ผลของการศึกษาคนควาครั้งนี้จะเปนแนวทางใหกับครูและผูทเกี่่ยวของกับการศึกษา ปฐมวัยได้ตระหนัก และเขาใจถึงความสําคัญในการสงเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน รวมทั้งเปนแนวทางในการทำกิจกรรมการ ทดลองหลังการฟงนิทานใหมีความหมายและเกิดประโยชนตอการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการวิจัย 

         ประชากรที่ใชในการวิจัย กลุมประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เปนเด็กชาย-หญิง อายุระหวาง 5-6 ปที่กําลัง ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2  ภาคเรยนที่ 2 ปการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจํานวน 5 หองเรียน จํานวน 175 คน

         กลุมตัวอยางที่ใชในการศึกษาครั้งนี้เปนเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหวาง 5-6 ป ที่กําลังศึกษา อยูชั้นอนุบาลปที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวน 30 คน โดยผูวิจัยทําการทดสอบเด็กดวย แบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผูวิจัยสรางขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจานวน  15 คน ที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร   15  อันดับสุดทาย กําหนดเปนกลุมทดลอง

ตัวแปรที่ศึกษา 

1. ตัวแปรตน ไดแก การไดรับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน 
2. ตัวแปรตาม ไดแก ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร

สมมติฐานของการศึกษาคนควา

        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวากอนการทดลอง

วิธีการดําเนนการทดลอง 

           การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่2 ปการศึกษา 2552 ทําการทดลองเปนเวลา 8
สัปดาห สัปดาหละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทําการทดลองในชวงเวลา 08.30 – 09.00 น.รวม 24 ครั้ง มีลําดับขั้นตอนดังนี้ 

     1.ผูวิจัยใชคะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน ขั้นตอนการเลือก ตัวอยางเป็นคะแนนก่อนการทดลอง 
     2.ผูวิจัยดําเนินการทดลองดวยตนเองโดยทดลองสัปดาหละ 3 วัน วันละ 30 นาที ในชวงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทรวันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหวางที่ผูวิจัย ดําเนินการทดลองกับเด็กกลุมตัวอยางเด็กที่ไมใชกลุมตัวอยางอยูในความดูแลของครูผูชวยสอน  
     3.เมื่อดําเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาหผูวิจัยทําการทดสอบหลังการทดลอง กับเด็กกลุม ตัวอย่างดวยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรชุดเดียวกับกอนการทดลอง 
     4.นําขอมูลที่ไดจากการทดสอบไปทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสิถติ 

เครื่องมือที่ใชในการศึกษาวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรมีความเชื่อมั่น .66 

สรุปผลการวิจัย

     1. เด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยศาสตร์อยางมีนัยสําคัญที่ .01 และพบวาทักษะดานการสังเกต การจําแนก และการสื่อสาร สูงกวากอนการทดลองอยางมีนัยสําคัญที่ .01 
    2. กอนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ดาน การสังเกต ดานการจําแนก และดานการสื่อสาร อยูในระดับพอใชหลังการจัดกิจกรรมหลังการฟงนิทาน โดยรวมอยูในระดับดีและรายดานคือ ดานการสังเกตอยูในระดับดีมาก ดานการจําแนกและการสื่อสารอยู่ใน ระดับดี

สรุปการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เรื่อง แสงกับการมองเห็น

โรงเรียน โคดิโคต เมืองเฮิร์ตฟอร์ดเชียร์

ที่มา: โทรทัศน์ครู



คลิ๊ก !! ดูวีดีโอการเรียนการสอน เรื่องแสงกับการมองเห็น

          สอนโดยครู เฮเลน เอเคอร์ การเรียนการสอนเริ่มจากการเล่านิทาน เรื่อง หมีตัวเล็กที่กลัวความมืด ครูจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยโดยจะสร้างถ้ำให้เด็ก และเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก สิ่งที่เชื่อมั่น คือ การจัดกิจกรรมเชิงจิตนาการให่แก่เด็ก แต่คงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เด็กรู้สึกสบาย เน้นการเล่าเรื่องแล้วให้เด็กสำรวจ 

         ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยครูเล่านิทานให้เด็กฟังก่อน จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็ก ถามเกี่ยวกับนิทานในเรื่องนั้นและประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับแสงแล้วจึงสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์ที่สำคัญ  

จากนั้นให้เด็กทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจากแหล่งกำเนิดแสง คือ ถ้ำมืด กล่องแสง ถ้ำเล็กๆที่ทำจากกล่องรองเท้า ใช้คำถามให้เด็กคาดการณ์ว่า เห็นตุ๊กตาสีอะไรเมื่ออยู่ในถ้ำที่ไม่มีแสง จากนั้น รอยแรกให้เด็กเข้าไปสำรวจในถ้ำ รอบที่สอง ให้แหล่งกำเนิดแสง คือ ไฟฉาย แล้วจึงมาตรวจคำตอบที่คาดการณ์ไว้  

กิจกรรมที่ 2 ให้เด็กหาสิ่งของที่อยู่ในกล่องมืด ให้เด็กลองค้นพบวิธีทำให้เราเห็นของข้างใน โดยการใช้ไฟฉาย และขยายรูที่ทำให้มองเห็นใหญ่ขึ้น (ให้เด็กได้ลองลงมือปฏิบัติ และค้นพบด้วยตนเอง)

         ครูเฮเลน ให้แนวคิดที่ว่า เราต้องการแสงเพื่อการมองเห็นโดยใช้การสำรวจค้นคว้า 2 อย่าง โดย ถ้ำใหญ่และถ้ำร้องเท้า ให้เด็กๆพบแหล่งกำเนิดแสงโดยใช้กล่องแสง ไฟฉาย กิจกรรมทั้งหมดเริ่มต้นจากการสนใจในนิทานของเด็กๆ 

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)


สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์และ STEM

หน่วย ส้ม  การถนอมอาหาร (วันพุธ) 


ขั้นนำ

         1. ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด

ขั้นสอน

         1. ครูใช้คำถามถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้ได้นานๆ ?
         2. ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู เป็นรูปภาพ และของจริง


ส้มสด

ส้มเชื่อม

         3. ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ


         4. ครูถามเด็กว่า เด็กๆชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน? ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำ               สติ๊กเกอร์ไปติดบนตารางที่เตรียมไว้ ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์ (แบบหนึ่งต่อหนึ่ง) จากนั้นสรุปว่าเด็กๆชอบส้มแบบไหนมากกว่ากัน

ผลปรากฏว่า เด็กๆชอบส้มสดและส้มเชื่อมเท่ากัน

         5. ครูใช้คำถาม
                       -เด็กๆคิดว่าเราจะเอาเม็ดส้มมาทำอะไรได้บ้าง?
                       -เรามีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้บ้าง
                       -นอกจากนี้เรามีเครื่องมืออะไรที่เราจะใช้ แทนการ เป่าและดีดได้บ้าง?


        6. ครูหาเครื่องมือที่จะมาใช้แทนการเป่าและดีด โดนค้นหาวิดีโอที่เป็นสื่อ คือ วีดีโอของเล่นขวดบ้าพลัง เปิดให้เด็กๆดูอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ



        7. ครูทบทวนอุปกรณ์ และวิธีการทำของเล่น ขวดบ้าพลัง และสาธิตวีธีการทำให้เด็กดู


       8. จากนั้นเด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ เด็กๆลงมือประดิษฐ์ของเล่นขวดบ้าพลัง
                              (เราจะให้อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน คือ ขนาดของขวดที่ต่างกัน)


        8. จากนั้นครูใช้คำถาม ดังนี้
                       -เราจะมีวิธีการเล่นขวดบ้าพลังอย่างไรได้บ้าง?
                       -เด็กๆคิดว่าถ้าเราลองนำขวดบ้าพลังมาใช้ จะเกิดอะไรขึ้น?
         
         9. ครูให้เด็กได้ทดลองเล่นขวดบ้าพลัง เมื่อเด็กได้ทดลองแล้ว ครูใช้คำถามว่า "เด็กๆรู้ไหมว่าเม็ดส้มเคลื่อนที่ได้อย่างไร?" จากนั้นครูจึงเฉลยหลักการวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้

เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้เพราะเมื่อเราดึงลูกโป่งทำให้อากาศเข้าไปรวมตัวกันด้านในลูกโป่งและขวด แล้วเมื่อเราปล่อยลูกโป่งออกด้วยความเร็ว ทำให้อากาศที่อยู่ในลูกโป่งและขวดวิ่งออกมาอย่างรวดเร็วและดันให้เม็ดส้มนั้นเคลื่อนที่ได้นั่นเอง

       10. ครูให้เด็กลองหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลัง ว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้เด็กแข่งขันกันโดยใช้ขวดบ้าพลังของตัวเองเป็นเครื่องมือในการทำให้ส้มเคลื่อนที่ 


ครูขีดเส้นและเขียนชื่อของเด็กไว้ ตามระยะทางที่ได้
 

         11. ครูนำผลการหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลังให้เด็กดู ปรากฏว่าขวดบ้าพลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด 



ขั้นสรุป

        1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปว่าเพราะอะไรขวดบ้าพลังที่มีขนาดใหญ่จึงทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด 

การบูรณาการ

      1. วิทยาศาสตร์
      2. คณิตศาสตร์
        3. เทคโนโลยี
        4. วิศวกรรมศาสตร์
        5. สังคม
        6. ภาษา

ตัวอย่างการสอนของเพื่อน

หน่วยไก่ เรื่อง สายพันธุ์ (วันจันทร์)



หน่วยนม เรื่องลักษณะ (วันอังคาร)



หน่วยข้าว เรื่องการถนอมอาหาร (วันพุธ)

ทำน้ำหมักไล่แมลงที่ข้าว








หน่วยกล้วย เรื่องประโยชน์และข้อควรระวัง (วันพฤหัสบดี)

นิทาน เรื่อง กล้วยกล้วยของหนูนิด




หน่วยน้ำ เรื่อง Cooking น้ำอัญชันมะนาว





ฐานที่ 1 ล้างดอกอัญชันและมะนาว


ฐานที่ 2 คั้นน้ำดอกอัญชัน


ฐานที่ 3 ต้มน้ำดอกอัญชัน


ฐานที่ 4 ผสมน้ำดอกอัญชัน







Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
- การทำงานเป็นกลุ่ม
-การลงมือปฎิบัติ
-ทดลองสอน

Application (การประยุกต์ใช้)
-จากการจัดประสบกาณ์ตั้งแต่การเขียนแผนและลงมือทดลองสอน ทำให้เราได้รับทักษะความรู้ กระบวนการในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก ขั้นตอนในการสอน เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด พร้อมทั้งให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และบูรณาการผ่านสาระวิชาต่างๆได้มากมาย เป็นประโยชน์ ประสบการณ์ที่ดี ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์ให้คำแนะนำทีละขั้นตอน คอยเสริมความรู้เทคนิคต่างๆให้ สอนให้เราได้รับประสบการณ์อย่างละเอียด ใส่ใจและคอยให้คำปรึกษาเมื่อเราไม่เข้าใจ และให้เรานำมาปรับแก้ไขได้ถูกต้อง

Self (ตนเอง)
-ได้ทดลองสอน ตั้งใจและเตรียมพร้อมในการสอน ช่วยเหลือและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่ม

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนๆมีการเตรียมความพร้อมอย่างดี ตั้งใจสอนและคอยช่วยเหลือกันในกลุ่ม

Environment (สภาพแวดล้อม)
-อุปกรณ์เพียงพอ ห้องเรียนสะอาด เมื่อเสร็จกิจกรรมช่วยกันทำความสะอาดเรียบร้อย