Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)


สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์และ STEM

หน่วย ส้ม  การถนอมอาหาร (วันพุธ) 


ขั้นนำ

         1. ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด

ขั้นสอน

         1. ครูใช้คำถามถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้ได้นานๆ ?
         2. ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู เป็นรูปภาพ และของจริง


ส้มสด

ส้มเชื่อม

         3. ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ


         4. ครูถามเด็กว่า เด็กๆชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน? ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำ               สติ๊กเกอร์ไปติดบนตารางที่เตรียมไว้ ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์ (แบบหนึ่งต่อหนึ่ง) จากนั้นสรุปว่าเด็กๆชอบส้มแบบไหนมากกว่ากัน

ผลปรากฏว่า เด็กๆชอบส้มสดและส้มเชื่อมเท่ากัน

         5. ครูใช้คำถาม
                       -เด็กๆคิดว่าเราจะเอาเม็ดส้มมาทำอะไรได้บ้าง?
                       -เรามีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้บ้าง
                       -นอกจากนี้เรามีเครื่องมืออะไรที่เราจะใช้ แทนการ เป่าและดีดได้บ้าง?


        6. ครูหาเครื่องมือที่จะมาใช้แทนการเป่าและดีด โดนค้นหาวิดีโอที่เป็นสื่อ คือ วีดีโอของเล่นขวดบ้าพลัง เปิดให้เด็กๆดูอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ



        7. ครูทบทวนอุปกรณ์ และวิธีการทำของเล่น ขวดบ้าพลัง และสาธิตวีธีการทำให้เด็กดู


       8. จากนั้นเด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ เด็กๆลงมือประดิษฐ์ของเล่นขวดบ้าพลัง
                              (เราจะให้อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน คือ ขนาดของขวดที่ต่างกัน)


        8. จากนั้นครูใช้คำถาม ดังนี้
                       -เราจะมีวิธีการเล่นขวดบ้าพลังอย่างไรได้บ้าง?
                       -เด็กๆคิดว่าถ้าเราลองนำขวดบ้าพลังมาใช้ จะเกิดอะไรขึ้น?
         
         9. ครูให้เด็กได้ทดลองเล่นขวดบ้าพลัง เมื่อเด็กได้ทดลองแล้ว ครูใช้คำถามว่า "เด็กๆรู้ไหมว่าเม็ดส้มเคลื่อนที่ได้อย่างไร?" จากนั้นครูจึงเฉลยหลักการวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้

เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้เพราะเมื่อเราดึงลูกโป่งทำให้อากาศเข้าไปรวมตัวกันด้านในลูกโป่งและขวด แล้วเมื่อเราปล่อยลูกโป่งออกด้วยความเร็ว ทำให้อากาศที่อยู่ในลูกโป่งและขวดวิ่งออกมาอย่างรวดเร็วและดันให้เม็ดส้มนั้นเคลื่อนที่ได้นั่นเอง

       10. ครูให้เด็กลองหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลัง ว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้เด็กแข่งขันกันโดยใช้ขวดบ้าพลังของตัวเองเป็นเครื่องมือในการทำให้ส้มเคลื่อนที่ 


ครูขีดเส้นและเขียนชื่อของเด็กไว้ ตามระยะทางที่ได้
 

         11. ครูนำผลการหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลังให้เด็กดู ปรากฏว่าขวดบ้าพลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด 



ขั้นสรุป

        1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปว่าเพราะอะไรขวดบ้าพลังที่มีขนาดใหญ่จึงทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด 

การบูรณาการ

      1. วิทยาศาสตร์
      2. คณิตศาสตร์
        3. เทคโนโลยี
        4. วิศวกรรมศาสตร์
        5. สังคม
        6. ภาษา

ตัวอย่างการสอนของเพื่อน

หน่วยไก่ เรื่อง สายพันธุ์ (วันจันทร์)



หน่วยนม เรื่องลักษณะ (วันอังคาร)



หน่วยข้าว เรื่องการถนอมอาหาร (วันพุธ)

ทำน้ำหมักไล่แมลงที่ข้าว








หน่วยกล้วย เรื่องประโยชน์และข้อควรระวัง (วันพฤหัสบดี)

นิทาน เรื่อง กล้วยกล้วยของหนูนิด




หน่วยน้ำ เรื่อง Cooking น้ำอัญชันมะนาว





ฐานที่ 1 ล้างดอกอัญชันและมะนาว


ฐานที่ 2 คั้นน้ำดอกอัญชัน


ฐานที่ 3 ต้มน้ำดอกอัญชัน


ฐานที่ 4 ผสมน้ำดอกอัญชัน







Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
- การทำงานเป็นกลุ่ม
-การลงมือปฎิบัติ
-ทดลองสอน

Application (การประยุกต์ใช้)
-จากการจัดประสบกาณ์ตั้งแต่การเขียนแผนและลงมือทดลองสอน ทำให้เราได้รับทักษะความรู้ กระบวนการในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก ขั้นตอนในการสอน เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด พร้อมทั้งให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และบูรณาการผ่านสาระวิชาต่างๆได้มากมาย เป็นประโยชน์ ประสบการณ์ที่ดี ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์ให้คำแนะนำทีละขั้นตอน คอยเสริมความรู้เทคนิคต่างๆให้ สอนให้เราได้รับประสบการณ์อย่างละเอียด ใส่ใจและคอยให้คำปรึกษาเมื่อเราไม่เข้าใจ และให้เรานำมาปรับแก้ไขได้ถูกต้อง

Self (ตนเอง)
-ได้ทดลองสอน ตั้งใจและเตรียมพร้อมในการสอน ช่วยเหลือและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่ม

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนๆมีการเตรียมความพร้อมอย่างดี ตั้งใจสอนและคอยช่วยเหลือกันในกลุ่ม

Environment (สภาพแวดล้อม)
-อุปกรณ์เพียงพอ ห้องเรียนสะอาด เมื่อเสร็จกิจกรรมช่วยกันทำความสะอาดเรียบร้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น