Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

กิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์

การเขียนแผนการเรียนการสอน หน่วย ส้ม

วันจันทร์ สอน เรื่อง สายพันธุ์

วันอังคาร สอน เรื่อง ลักษณะ

วันพุธ สอน เรื่อง การถนอมอาหาร

วันพฤหัสบดี สอน เรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง

วันศุกร์ สอน เรื่อง การแปรรูป ทำ cooking การทำน้ำส้มคั้น 


เรื่องที่จะสอน  การถนอนอาหาร  (วันพุธ) 


ส้มสด


 ส้มเชื่อม


วัตถุประสงค์

1. เด็กสามารถบอกวิธีการถนอนอาหารได้

2. เด็กสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างส้มสดกับส้มที่ผ่านการถนอมอาหารได้

สาระที่ควรเรียนรู้
        
         การถนอมอาหารของส้มมีหลากหลายวิธี เช่น ส้มเชื่อม  ส้มกวน  ส้มแห้ง 3 รส  ส้มแช่อิ่ม 

ประสบการณ์สำคัญ

     ด้านร่างกาย
                  การต่อของและการแยกชิ้นส่วนออก

     ด้านอารมณ์ จิตใจ
                 การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว

    ด้านสังคม
                การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดผู้อื่น

    ด้านสติปัญญา
               การแสดงออกความรู้ด้วยคำพูด การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
         1. ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด

ขั้นสอน
         2. ครูใช้คำถามถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้ได้นานๆ ?
         3. ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู
         4. ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ
         5. ครูถามเด็กว่า เด็กๆชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่า? ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำ                            สติ๊กเกอร์ไปติดบนตารางที่เตรียมไว้
         6. ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์ (แบบหนึ่งต่อหนึ่ง)

ขั้นสรุป
        7. ครูสรุปผลว่าเด็กชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากันและถามเหตุผลที่ชอบและไม่ชอบ เพราะ                   อะไร?


สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

        1. เกมการศึกษา
        2. ส้มที่ผ่านการถนอมอาหาร ส้มเชื่อม  ส้มกวน  ส้มแห้ง 3 รส
        3. ตาราง
        4. สติ๊กเกอร์

การวัดและประเมินผล

        1. แบบบันทึกการสังเกต
                    ฟังจากการตอบคำถามและอธิบายความแตกต่างของส้มสดและส้มเชื่อม

การบูรณาการ

         1. วิทยาศาสตร์
         2. คณิตศาสตร์
         3. สังคม
         4. ภาษา


Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
- การทำงานเป็นกลุ่ม

Application (การประยุกต์ใช้)
-การเขีนนแผนการจัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญ ได้ฝึกการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอน รู้แนวทางและวิธีการเขียน และได้คิดเลือกกิจกรรมในแต่ละวันว่าเราจะสอนเรื่องเกี่ยวกับอะไร สอนแบบไหน ทำให้เรามีประสบการณ์ตรงนี้ไปใช้ได้ในการสอนจริง

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สอนและอธิบายทุกขั้นตอนในการเขียน เมื่อไม่เข้าใจอาจารย์คอยให้คำปรึกษา ใส่ใจและ เดินดูตลอดเวลา

Self (ตนเอง)
-จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม เมื่อไม่เข้าใจก็ถามอาจารย์ มาเรียนตรงเวลา

Friends (เพื่อน)
-มีความสนใจในการเขียนแผน ตั้งใจและคอยถามอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจ

Environment (สภาพแวดล้อม)
-โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ  แสงสว่างเพียงพอ อุปกรณ์การเรียนพร้อม
  

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

เข้าร่วมกิจกรรม สาธิตการสอนเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเปียโน ให้แก่คณะศึกษาดูงานจากวิทยาลัย pädagogische hochschule tirol ประเทศออสเตรีย


แสดงบทบาทสมมติกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วยผีเสื้อ


วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

นำเสนอวิดีโอ สื่อการสอน การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

ของเล่นพลังปริศนา (กลุ่มตนเอง)



ของเล่นขวดบ้าพลัง



ของเล่น รถหลอดด้าย



ของเล่นลูกข่างนักสืบ



หลักการทำสื่อวีดีโอ 

- การแนะนำอุปกรณ์ ควรมีตัวหนังสือบอกจำนวนอุปกรณ์นั้น เช่น แผ่นซีดีจำนวน 1 แผ่น เป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์
- ควรมีตัวหนังสือเขียนอธิบายทุกขั้นตอน
- ตัวหนังสือควรเป็นอักษรเรียบร้อย 
- เมื่อจบการประดิษฐ์ควรมีผังกราฟฟิกขั้นตอนการทำ เพื่อเป็นการทบทวนขั้นตอนการประดิษฐ์
- ไม่ควรบอกวิธีเล่นในวิดีโอ ควรนำมาเชื่อมโยงในห้องเรียนให้เด็กได้คิดสังเกตการหาวิธีเล่น

การทำ Mind mapping บูรณาการการเรียนการสอน

การบูรณาการ หน่วยส้ม (ความรู้พื้นฐานของกลุ่มสาระนั้นๆ)



1. คณิตศาสตร์  มาตรฐาน 6 มาตรฐาน ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                     
2. วิทยาศาสตร์ 
     2.1 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
              ทักษะที่ 1 การสังเกต  (Observing) 
           ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring)
           ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using numbers)
           ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying)
           ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
            (Using space/Time relationships)
              ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) 
           ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) 
           ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) 
           ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses)
           ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)
           ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)
           ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting)
           ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล 
           (Interpreting data and conclusion)
      
     2.2 กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ 8 มาตรฐาน
              สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
                 สาระที่ 2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                 สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร
                 สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
                 สาระที่ 5  พลังงาน
                 สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
                 สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
                 สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     2.3 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                 ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา
               ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน 
               ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล
               ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล
               ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน

3. ศิลปะ 
     3.1 วาดภาพ / ระบายสี
     3.2 การปั้น
     3.3 การฉีก / ตัด / แปะ
     3.4 การประดิษฐ์
     3.5 การพิมพ์ภาพ
     3.6 การเล่นกับสี

4. สังคม
     4.1 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น แบ่งออกเป็น งานคู่ และ งานกลุ่ม
     4.2 การช่วยเหลือตนเอง แบ่งออกเป็น งานเดี่ยว

5. สุขศึกษาและพลศึกษา
     5.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     5.2 กิจกรรมกลางแจ้ง

การทำ Mind mapping บูรณาการการจัดการเรียนการสอนผ่าน 6 กิจกรรมหลัก


กิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก มี ดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา


Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การแสดงความคิดเห็น
-การทำงานเป็นกลุ่ม

Application (การประยุกต์ใช้)
-ได้เห็นแนวทางการทำวีดีโอการสอนที่หลากหลายของแต่ละกลุ่มและได้รู้เทคนิคการทำที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ได้ และการจัดทำ Mind Mapping บูรณาการต่างๆ ทำให้เราได้มีความรู้ที่สามารถเป็นตัวหลักในการจัดกิจกรรมได้ถูกต้อง ว่าเด็กควรได้อะไร ส่วนไหนควรจัดอย่างไร 

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์แต่งการเรียบร้อย คอยแนะนำและเดินดู ช่วยเหลือขณะทำกิจกรรม

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่ม

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจจดบันทึกเพิ่มเติม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นภายในห้องเรียน

Environment (สภาพแวดล้อม)
-โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ ภายในห้องสะอาด