Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

นำเสนอวิดีโอ สื่อการสอน การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

ของเล่นพลังปริศนา (กลุ่มตนเอง)



ของเล่นขวดบ้าพลัง



ของเล่น รถหลอดด้าย



ของเล่นลูกข่างนักสืบ



หลักการทำสื่อวีดีโอ 

- การแนะนำอุปกรณ์ ควรมีตัวหนังสือบอกจำนวนอุปกรณ์นั้น เช่น แผ่นซีดีจำนวน 1 แผ่น เป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์
- ควรมีตัวหนังสือเขียนอธิบายทุกขั้นตอน
- ตัวหนังสือควรเป็นอักษรเรียบร้อย 
- เมื่อจบการประดิษฐ์ควรมีผังกราฟฟิกขั้นตอนการทำ เพื่อเป็นการทบทวนขั้นตอนการประดิษฐ์
- ไม่ควรบอกวิธีเล่นในวิดีโอ ควรนำมาเชื่อมโยงในห้องเรียนให้เด็กได้คิดสังเกตการหาวิธีเล่น

การทำ Mind mapping บูรณาการการเรียนการสอน

การบูรณาการ หน่วยส้ม (ความรู้พื้นฐานของกลุ่มสาระนั้นๆ)



1. คณิตศาสตร์  มาตรฐาน 6 มาตรฐาน ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                     
2. วิทยาศาสตร์ 
     2.1 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
              ทักษะที่ 1 การสังเกต  (Observing) 
           ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring)
           ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using numbers)
           ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying)
           ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
            (Using space/Time relationships)
              ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) 
           ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) 
           ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) 
           ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses)
           ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)
           ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)
           ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting)
           ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล 
           (Interpreting data and conclusion)
      
     2.2 กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ 8 มาตรฐาน
              สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
                 สาระที่ 2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                 สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร
                 สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
                 สาระที่ 5  พลังงาน
                 สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
                 สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
                 สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     2.3 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                 ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา
               ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน 
               ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล
               ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล
               ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน

3. ศิลปะ 
     3.1 วาดภาพ / ระบายสี
     3.2 การปั้น
     3.3 การฉีก / ตัด / แปะ
     3.4 การประดิษฐ์
     3.5 การพิมพ์ภาพ
     3.6 การเล่นกับสี

4. สังคม
     4.1 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น แบ่งออกเป็น งานคู่ และ งานกลุ่ม
     4.2 การช่วยเหลือตนเอง แบ่งออกเป็น งานเดี่ยว

5. สุขศึกษาและพลศึกษา
     5.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     5.2 กิจกรรมกลางแจ้ง

การทำ Mind mapping บูรณาการการจัดการเรียนการสอนผ่าน 6 กิจกรรมหลัก


กิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก มี ดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา


Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การแสดงความคิดเห็น
-การทำงานเป็นกลุ่ม

Application (การประยุกต์ใช้)
-ได้เห็นแนวทางการทำวีดีโอการสอนที่หลากหลายของแต่ละกลุ่มและได้รู้เทคนิคการทำที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ได้ และการจัดทำ Mind Mapping บูรณาการต่างๆ ทำให้เราได้มีความรู้ที่สามารถเป็นตัวหลักในการจัดกิจกรรมได้ถูกต้อง ว่าเด็กควรได้อะไร ส่วนไหนควรจัดอย่างไร 

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์แต่งการเรียบร้อย คอยแนะนำและเดินดู ช่วยเหลือขณะทำกิจกรรม

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่ม

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจจดบันทึกเพิ่มเติม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นภายในห้องเรียน

Environment (สภาพแวดล้อม)
-โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ ภายในห้องสะอาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น