Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

Mapping แตกองค์ความรู้ 

แก้ไขเนื้อหาและการเขียนเพิ่มเติม

การแตกองค์ความรู้ เรื่อง ส้ม  Orange (กลุ่มตัวเอง)



การแตกองค์ความรู้ เรื่อง ไก่ chicken 


การแตกองค์ความรู้ เรื่อง กล้วย Banana


การแตกองค์ความรู้ เรื่อง น้ำ


การแตกองค์ความรู้ เรื่อง ข้าว Rice


 การแตกองค์ความรู้ เรื่อง นม Milk


การแตกองค์ความรู้เรื่อง ส้ม (งานเดี่ยว)



ใส่ภาพภาพประกอบเพิ่มเติม




หลักการเขียน Mapping

-เรียงลำดับวนขวาไปซ้าย (ตามเข็มนาฬิกา)
-บันทึกความรู้จากหัวข้อหลัก >> หัวข้อรอง >> หัวข้อย่อย
-ตัวหนังสือชัดเจน อ่านง่าย
-ใส่ภาพประกอบได้ 

การวิเคราะห์เชื่อมโยงกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ มี 8 สาระ 


สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต 
       เรื่องที่สามาตรสอนได้ เช่น เรื่องไก่
สาระที่ 2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
       เรื่องที่สามาตรสอนได้ เช่น เรื่องน้ำ
สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร
        เรื่องที่สามาตรสอนได้ เช่น เรื่องนม  เรื่องน้ำ เรื่องส้ม  เรื่องกล้วย  เรื่องไก่  เรื่องข้าว 
สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
        เรื่องที่สามาตรสอนได้ เช่น เรื่องน้ำ  เรื่องนม  เรื่องส้ม 
สาระที่ 5  พลังงาน
        เรื่องที่สามาตรสอนได้ เช่น เรื่องข้าว
สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
        เรื่องที่สามาตรสอนได้ เช่น เรื่องฤดูกาล  เรื่องปรากฎการณ์ต่างๆ
สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
        เรื่องที่สามาตรสอนได้ เช่น เรื่องจรวด  เรื่องพระอาทิตย์  เรื่องดวงจันทร์
สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
        เรื่องที่สามาตรสอนได้ เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

*การเชื่อมโยง เราต้องดูตัวบ่งชี้ในแต่ละสาระและเชื่อมโยงเรื่องที่จะสอนเข้าด้วยกัน โดยให้สอดคล้องกัน และนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตามมาตรฐานดังกล่าว*


Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น

Application (การประยุกต์ใช้)
-ได้ฝึกการเขียน Mapping ที่ถูกต้อง และได้รู้จักการเลือกเรื่องและแตกองค์ความรู้ ทำให้มีประสบการณ์ในการทำ และยังรู้แนวทางเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์อีกด้วย

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์มีความละเอียด ใส่ใจในทุกขั้นตอนการทำและให้คำแนะนำเสมอ

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน

Friends (เพื่อน)
-ไม่ส่งเสียงดัง ร่วมกิจกรรมในห้องได้ดี

Environment (สภาพแวดล้อม)
-โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

ของเล่นวิทยาศาสตร์
นำเสนอประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาตร์ที่สามารถนำไปจัดวางตามมุมได้ 

1. ไข่มหัศจรรย์ (กลุ่มตนเอง)
2. แม่เหล็กเต้นระบำ
3. วงจรของโลก
4. ทวินเพลน
5. ระบบสุริยะจักรวาล
6. ผีเสื้อเริงระบำ
7. จานหรรษา
8. นาฬิกาธรรมชาติ
9. ภาพใต้น้ำ
ไข่มหัศจรรย์ 


วัสดุอุปกรณ์ 

1. ไข่ปลอม 12 ลูก 
2. รังไข่
3. วัสดุที่ใส่ลงในไข่ คือ น้ำเปล่า  เม็ดแมงลัก ข้าวสาร กิ่งไม้ หิน ทราย
4. แบบเฉลย
5. สีน้ำ / สีไม้ / ดินสอ / ยางลบ
6. ปืนกาว / กรรไกร / คัตเตอร์

ขั้นตอนการทำ 
1. ใช้คัตเตอร์เจาะรูไข่ที่เตรียมไว้ทุกใบ 



2. ใส่วัสดุที่เตรียมไว้ลงไปในไข่ (วัสดุ 1 อย่างใส่ไข่ 2 ใบ) ใช้ปืนกาวปิดรูให้แน่น


3. จากนั้นใช้สีน้ำระบายไข่แต่ละใบให้สวยงาม โดยระบายสีที่ไม่เหมือนกัน และระบายสีตกแต่งรังไข่


4. ทำแบบเฉลย โดยจับคู่ไข่ที่วัสดุเหมือนกัน พร้อมเฉลยวัสดุที่อยู่ข้างในไข่


5. สามารถนำ ไข่มหัศจรรย์มาเล่นได้ 

วิธีเล่น 
     
       ให้เด็กได้เลือก เขย่าไข่แต่ละใบ และหาข้อแตกต่างของเสียงที่เกิดจากไข่แต่ละใบ จากนั้นให้จับคู่ไข่ที่มีเสียงเหมือนกันอยู่ด้วยกัน เมื่อเลือกจับคู่เสร็จแล้ว สามารถมาตรวจคำตอบได้ที่แบบเฉลยและรู้ด้วยว่าสิ่งของที่อยู่ข้างในไข่นั้นคืออะไร 

หลักการวิทยาศาสตร์

          ทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง โดยเสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อเราเขย่าไข่ แล้ววัสดุข้างในไข่เกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดการขยายตัวของคลื่นเสียงและถูกส่งผ่านตัวกลางทำให้เราได้ยินเสียงนั้นๆ 

บูรณาการ

-สามารถบูรณาการในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะได้ 
- สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ได้ เรื่อง ของรูปทรง การนับ ปริมาณของวัสดุ
- สามารถบูรณาการศิลปะสร้างสรรค์ได้ เรื่อง สีต่างๆ 

  • ตัวอย่างของเล่นเพื่อนๆในห้อง
- นาฬิกาธรรมชาติ


-แม่เหล็กเต้นระบำ

-วงจรของโลก

-ทวินเพลน

-ระบบสุริยะจักรวาล

-ผีเสื้อเริงระบำ

-จานหรรษา

-ภาพใต้น้ำ


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิด STEM

หลักการจัดประสบการณ์

1. หลักการเลือกหัวเรื่อง มี 2 ประเด็น คือ 

-เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กสนใจ อยู่ในชีวิตประจำวัน
-เรื่องที่ส่งผลกระทบกับตัวเด็ก

2. นำหัวข้อเรื่องมาแตกองค์ความรู้ ต้องมีหัวข้อ คือ
          - ชื่อเรียก / ประเภท / / สายพันธุ์ 
          - ลักษณะ เช่น รูปร่าง สี รสชาติ ผิว ส่วนประกอบ
          - การดูแลรักษา / การดำรงชีวิต / การเจริญเติบโต
          - การถนอนอาหาร / การแปรรูป
          - ประโยชน์
                      -ต่อตนเอง
                      -เชิงพาณิชย์
          - ข้อควรระวัง

3. เครื่องมือในการดรียนรู้ มี 2 อย่าง คือ
           -คณิตศาสตร์
           -ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน

4. เรื่องต้องสัมพันธ์กับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย มี 8 สาระ ดังนี้

สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5  พลังงาน
สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific approach)

-การตั้งขอบข่ายปัญหา
-ตั้งสมมติฐาน
-การทดลอง ใช้การสังเกต เพื่อ เป็นการรวบรวมข้อมูล
-วิเคราะห์ สรุป อภิปราย

6. ต้องคำนึงถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือ จิตวิทยาศาสตร์ 
- การอยากรู้ อยากเห็น จึงทำให้เกิดข้อสงสัยหรือปัญหา
-ความเพียรพยายาม
-ความรอบคอบ มีระเบียบ
-ความซื่อสัตย์
-การมีเหตุผล ยอมรับตามเหตุผล
-มีความใจกว้าง

ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง ส้ม  (กลุ่มตัวเอง)


ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง กล้วย



ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง น้ำ


ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง ไก่


Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
-การนำเสนอ

Application (การประยุกต์ใช้)
-ในการทำมายแม็บแตกองค์ความรู้ เราได้รู้หลักการเขียนมายแม็บให้ถูกวิธี และได้ลองเขียนคิดค้นหาองค์ความรู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนครั้งต่อไป

Teacher (อาจารย์)
-แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์สอนเข้าใจ และคอยบอกทีละขั้นตอน

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนแสดงความคิดเห็นในการทำงาน

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจคิดกิจกรรม มีความรู้พื้นฐาน

Environment (สภาพแวดล้อม)
-บรรยากาศในห้องอบอุ่น โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ


วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิด STEM
  • การเขียนผังกราฟฟิก 
การเขียนผังกราฟฟิกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เป็นเทคโนโลยี (Technology) แบบหนึ่ง 
-เขียนคำเข้าใจง่าย
-มีลำดับขั้นตอน มีการวางแผน เป็นขั้นที่บูรณาการ คณิตศาสตร์ (math) และ วิศวะกรรมศาสตร์ (Engineering)

ตัวอย่าง ผังกราฟฟิกเกี่ยวกับ ขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นแผ่นซีดีเป่าให้ลอย

  • การจัดประสบการณ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 
ขั้นตอน
1. เตรียมอุปกรณ์ ใช้คำถามประสบการณ์เดิม 
2. ใช้สื่อในการสอน เช่น วีดีโอ 
3. สาธิตให้เด็กดู
4. เด็กลงมือปฏิบัติ
5. เด็กลงมือเล่น / ทดลอง
6. แข่งขัน 
7. สรุป

ของเล่นวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 
1. ลูกข่างมหัศจรรย์
2. แผ่นซีดีเป่าให้ลอย
3. รถหลอดด้าย
4. ปืนลม 

การจัดกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นแผ่นซีดีเป่าให้ลอย


ก่อนที่เราจะจัดกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น เราต้องจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนก่อน นั้นก็คือ วีดีโอ (video) ซึ่งการใช้วีดีโอเป็นสื่อเป็นการใช้เทคโนโลยี ในวีดีโอจะประกอบด้วย 

1. อุปกรณ์ มีดังนี้
        - แผ่นซีดี 1 แผ่น
        - ฝาขวดน้ำ 1 ฝา
        - สายยาง 1 เมตร
        - หน่วยวัด ใช้คืบในการวัด
        - กาว 
        - กรรไกน
2. ขั้นตอนในการประดิษฐ์
         1. ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์เจาะรูที่ฝาขวดให้มีขนาดพอดีกับสายยางที่เตรียมไว้
         2. นำสายยางใส่เข้าไปในรูฝาขวด
         3. ติดกาวบริเวณที่เจาะรูทั้งด้านนอกและด้านในของฝาขวด ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง
         4. เมื่อกาวแห้งแล้ว นำฝาขวดติดกับแผ่นซีดี 
         5. เสร็จแล้ว สามารถนำไปเป่าเล่นได้

การจัดประสบการณ์ 

1. ร้องเพลงสงบเด็ก 

2. เตรียมอุปกรณ์วางให้เด็กดูหน้าห้องเรียน โดยใช้คำถาม "เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน?"

3. ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามว่า "เด็กๆรู้จักอุปกรณ์ชิ้นใดบ้างที่อยู่ตรงนี้? แล้วสามารถนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปทำอะไรได้อีกบ้าง?" 
     *ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนที่เด็กไม่รู้จัก ให้ครูยกอุปกรณ์ให้เด็กดูและบอกชื่ออุปกรณ์ แล้วให้เด็กพูดตาม *

4. ใช้สื่อวีดีโอให้เด็กดู ก่อนจะเปิดวีดีโอ โดยใช้คำถามชักชวนเด็กก่อน และตั้งชื่อวีดีโอให้น่าสนใจ คือ พลังปริศนา

5. ให้เด็กลงมือประดิษฐ์ตามขั้นตอนในวีดีโอ เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้ว ครูใช้คำถามให้เด็กคิด เช่น "เด็กๆคิดว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้างให้แผ่นซีดีลอย? ถ้าเราเป่าแล้วแผ่นซีดีจะเกิดอะไรขึ้น?"

6. เด็กทดลองเล่น *ให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบ >> ได้ข้อมูล >> นำมาพิจรณา >> เลือกและตัดสินใจ*

7. เมื่อเด็กทดลองเล่นแล้วให้เด็กแข่งขัน โดยถ้าใครเป่าได้ระยะทางไกลสุดเป็นผู้ชนะ ใช้เครื่องมือในการสัด คือ รูปมือขนาด 1 คืบ จากนั้นบันทึกดารแข่งขันลงในผังกราฟฟิก และถามเหตุผลเด็กที่สามารถเป่าได้ไกล และ ทำไมเป่าได้ใกล้ ? 

8. สรุปผลการทดลอง โดยการที่แผ่นซีดีลอยได้นั้น เกิดจากหลักการวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงดันอากาศ 
จะสังเกตได้ว่าทำไมแผ่นซีดีจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ เพราะ เมื่อเราเป่าลมเข้าไปทางสายยางนั้น แรงดันลมจะทำให้แผ่นซีดียกตัวขึ้นและแผ่นซีเคลื่อนที่ไปมาได้นั้นเอง

ในการจัดกิจกรรมนั้น ครูควรใช้คำถามทุกขั้นตอนเพื่อนเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้สังเกต ได้คิด ได้เปรียบเทียบ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาพิจรณาสามารถเลือกตัดสินใจได้ โดยกิจกรรมครูควรจัดให้หลากหลาย สามารถบูรณาการได้หลากหลายวิชา และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใกล้ตัว ประหยัด 

Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
-การนำเสนอ
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์

Application (การประยุกต์ใช้)
-การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กเราต้องมีขั้นตอน และเทคนิค โดยเราต้องถามเด็กทุกขั้นตอนในการทำ ให้เด็กได้สังเกต ได้คิด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วย 
Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์อธิบายละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งการพูด การใช้คำถามในการสอน

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา เป็นตัวแทนนำเสนอในกลุ่ม จดบันทึกเพิ่มเติม

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจคิดกิจกรรม ไม่ส่งเสียงดัง

Environment (สภาพแวดล้อม)
-บรรยากาศในห้องอบอุ่น โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ


วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

  • กิจกรรม cooking ทาโกะยากิไข่ข้าว 
กิจกรรม ทาโกะยากิไข่ข้าว จัดเด็กออกเป็น 4 ฐาน โดยแต่ละฐานมีหน้าที่ ดังนี้

1. วาดรูปวัตถุดิบและอุปกรณ์
2. เตรียมอุปกรณ์และหั่นวัตถุดิบ
3. ผสมวัตถุดิบและปรุงรส
4. ทำทาโกะยากิไข่ข้าว



การดำเนินกิจกรรม 

ขั้นนำ
      - ร้องเพลงเกี่ยวกับอาหาร โดยใช้เพลง อาหารดีนั้นมีประโยชน์

เพลงอาหารดี มีประโยชน์

อาหารดีมีประโยชน์ คือผัดสดเนื้อหมู ปูปลา
เป็ด ไก่ ไข่นม ผลไม้นานา
ล้วนมีคุณค่า ต่อร่างกายของเรา

          >> โดยคุณครูร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ 
          >> รอบที่ 2 ให้เด็กร้องตามครู
          >> รอบที่ 3 ครูและเด็กร้องเพลงพร้อมๆกัน
                  *ใช้คำถามเข้าสู่กิจกรรม เช่น เด็กๆคิดว่าในเนื้อเพลงมีอาหารอะไรบ้างที่มีประโยชน์                                 และนอกจากนั้น เด็กๆรู้จักอาหารอื่นๆอะไรบ้างที่มีประโยชน์*


ขั้นสอน

      - แบ่งเด็กออกเป็น 4 ฐาน
      - เริ่มโดยการใช้คำถามให้เด็กได้คิด เช่น เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันค่ะ? 
      - จากนั้นแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กดู โดย ผัก หรืออุปกรณ์ที่ใช้เป็นของจริง และยังไม่หั่น ให้เด็กได้           เห็นรูปทรง และใช้คำถามเหมือนเดิม เช่น 
                                         อันนี้คืออะไรค่ะเด็กๆ ? 
                                         เด็กๆเคยเห็นมะเขือเทศที่ไหนอีกบ้างค่ะ? 

จากนั้นทำตัวอย่างขั้นตอนการทำให้เด็กดูก่อน 1 รอบ สามารถเรียกเด็กที่ตั้งใจมาช่วยหันหรือทำได้ 


ฐานที่ 1 
     - วาดรูปวัตถุดิบและอุปกรณ์ สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ได้ เรื่องของรูปทรงและลำดับ การนับ



ฐานที่ 2
     - เตรียมอุปกรณ์และหั่นวัตถุดิบ ให้เด็กได้หั่นผัก โดยครูอยู่แลอย่างใกล้ชิด ห้ามใช้มีดจริง 
สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ได้ เรื่องของรูปทรง ขนาด 


ฐานที่ 3
     -  ผสมวัตถุดิบและปรุงรส แจกถ้วยให้เด็กคนละ 1 ถ้วย เตรียมช้อนให้เด็กตักผักใส่ โดยครูกำหนดว่าใส่กี่ช้อน (เป็นการกำหนดปริมาณให้เท่ากัน) ให้เด็กลงมือผสมวัตถุดิบเอง
 สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ได้ เรื่องของ การนับ การตวง ปริมาณ


ฐานที่ 4 
     - ทำทาโกะยากิไข่ข้าว ให้เด็กลงมือของแต่ละคนด้วยตนเอง 
 สามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์ได้ เรื่อง การละเหย การเปลี่ยนสถานะ 



ขั้นสรุป 
     - ทบทวนความรู้ที่สอนเด็กไป ตั้งแต่เพลง อุปกรณ์วัตถุดิบและขั้นตอนการทำ 
     
*ในการทำกิจกรรมควรให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด และลงมือปฏิบัติ โดยครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ในขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูควรถามให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของทุกขั้นตอน *

ภาคผนวก 

เพลงสงบเด็ก 


Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์

Application (การประยุกต์ใช้)
-กิจกรรม cookking เป็นกิจกรรมที่สนุกเด็กๆชอบ เราได้รู้ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมที่ถูกต้องและได้เทคนิคหลายหลายในการสอนเด็ก รวมทั้งเพลงที่สามารถไปใช้ได้และเลือกเพลงให้ตรงกับหน่วย โดยกิจกรรมนี้ เด็กควรได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์มาดูแล และเสริมเทคนิคและวิธีที่ถูกต้องให้กับรุ่นพี่

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนทุกคน จดบันทึก

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรม และสนุกสนาน จดบันทึกและร่วมกิจกรรมกับรุ่นพี่ได้ดี

Environment (สภาพแวดล้อม)
-อุปกรณ์การทำกิจกรรมพร้อม บรรยากาศในห้องสนุกสนานและได้รับความรู้มากมาย