Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิด STEM
  • การเขียนผังกราฟฟิก 
การเขียนผังกราฟฟิกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เป็นเทคโนโลยี (Technology) แบบหนึ่ง 
-เขียนคำเข้าใจง่าย
-มีลำดับขั้นตอน มีการวางแผน เป็นขั้นที่บูรณาการ คณิตศาสตร์ (math) และ วิศวะกรรมศาสตร์ (Engineering)

ตัวอย่าง ผังกราฟฟิกเกี่ยวกับ ขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นแผ่นซีดีเป่าให้ลอย

  • การจัดประสบการณ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 
ขั้นตอน
1. เตรียมอุปกรณ์ ใช้คำถามประสบการณ์เดิม 
2. ใช้สื่อในการสอน เช่น วีดีโอ 
3. สาธิตให้เด็กดู
4. เด็กลงมือปฏิบัติ
5. เด็กลงมือเล่น / ทดลอง
6. แข่งขัน 
7. สรุป

ของเล่นวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 
1. ลูกข่างมหัศจรรย์
2. แผ่นซีดีเป่าให้ลอย
3. รถหลอดด้าย
4. ปืนลม 

การจัดกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นแผ่นซีดีเป่าให้ลอย


ก่อนที่เราจะจัดกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น เราต้องจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนก่อน นั้นก็คือ วีดีโอ (video) ซึ่งการใช้วีดีโอเป็นสื่อเป็นการใช้เทคโนโลยี ในวีดีโอจะประกอบด้วย 

1. อุปกรณ์ มีดังนี้
        - แผ่นซีดี 1 แผ่น
        - ฝาขวดน้ำ 1 ฝา
        - สายยาง 1 เมตร
        - หน่วยวัด ใช้คืบในการวัด
        - กาว 
        - กรรไกน
2. ขั้นตอนในการประดิษฐ์
         1. ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์เจาะรูที่ฝาขวดให้มีขนาดพอดีกับสายยางที่เตรียมไว้
         2. นำสายยางใส่เข้าไปในรูฝาขวด
         3. ติดกาวบริเวณที่เจาะรูทั้งด้านนอกและด้านในของฝาขวด ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง
         4. เมื่อกาวแห้งแล้ว นำฝาขวดติดกับแผ่นซีดี 
         5. เสร็จแล้ว สามารถนำไปเป่าเล่นได้

การจัดประสบการณ์ 

1. ร้องเพลงสงบเด็ก 

2. เตรียมอุปกรณ์วางให้เด็กดูหน้าห้องเรียน โดยใช้คำถาม "เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน?"

3. ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามว่า "เด็กๆรู้จักอุปกรณ์ชิ้นใดบ้างที่อยู่ตรงนี้? แล้วสามารถนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปทำอะไรได้อีกบ้าง?" 
     *ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนที่เด็กไม่รู้จัก ให้ครูยกอุปกรณ์ให้เด็กดูและบอกชื่ออุปกรณ์ แล้วให้เด็กพูดตาม *

4. ใช้สื่อวีดีโอให้เด็กดู ก่อนจะเปิดวีดีโอ โดยใช้คำถามชักชวนเด็กก่อน และตั้งชื่อวีดีโอให้น่าสนใจ คือ พลังปริศนา

5. ให้เด็กลงมือประดิษฐ์ตามขั้นตอนในวีดีโอ เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้ว ครูใช้คำถามให้เด็กคิด เช่น "เด็กๆคิดว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้างให้แผ่นซีดีลอย? ถ้าเราเป่าแล้วแผ่นซีดีจะเกิดอะไรขึ้น?"

6. เด็กทดลองเล่น *ให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบ >> ได้ข้อมูล >> นำมาพิจรณา >> เลือกและตัดสินใจ*

7. เมื่อเด็กทดลองเล่นแล้วให้เด็กแข่งขัน โดยถ้าใครเป่าได้ระยะทางไกลสุดเป็นผู้ชนะ ใช้เครื่องมือในการสัด คือ รูปมือขนาด 1 คืบ จากนั้นบันทึกดารแข่งขันลงในผังกราฟฟิก และถามเหตุผลเด็กที่สามารถเป่าได้ไกล และ ทำไมเป่าได้ใกล้ ? 

8. สรุปผลการทดลอง โดยการที่แผ่นซีดีลอยได้นั้น เกิดจากหลักการวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงดันอากาศ 
จะสังเกตได้ว่าทำไมแผ่นซีดีจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ เพราะ เมื่อเราเป่าลมเข้าไปทางสายยางนั้น แรงดันลมจะทำให้แผ่นซีดียกตัวขึ้นและแผ่นซีเคลื่อนที่ไปมาได้นั้นเอง

ในการจัดกิจกรรมนั้น ครูควรใช้คำถามทุกขั้นตอนเพื่อนเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้สังเกต ได้คิด ได้เปรียบเทียบ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาพิจรณาสามารถเลือกตัดสินใจได้ โดยกิจกรรมครูควรจัดให้หลากหลาย สามารถบูรณาการได้หลากหลายวิชา และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใกล้ตัว ประหยัด 

Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
-การนำเสนอ
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์

Application (การประยุกต์ใช้)
-การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กเราต้องมีขั้นตอน และเทคนิค โดยเราต้องถามเด็กทุกขั้นตอนในการทำ ให้เด็กได้สังเกต ได้คิด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วย 
Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์อธิบายละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งการพูด การใช้คำถามในการสอน

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา เป็นตัวแทนนำเสนอในกลุ่ม จดบันทึกเพิ่มเติม

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจคิดกิจกรรม ไม่ส่งเสียงดัง

Environment (สภาพแวดล้อม)
-บรรยากาศในห้องอบอุ่น โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น