Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

ของเล่นวิทยาศาสตร์
นำเสนอประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาตร์ที่สามารถนำไปจัดวางตามมุมได้ 

1. ไข่มหัศจรรย์ (กลุ่มตนเอง)
2. แม่เหล็กเต้นระบำ
3. วงจรของโลก
4. ทวินเพลน
5. ระบบสุริยะจักรวาล
6. ผีเสื้อเริงระบำ
7. จานหรรษา
8. นาฬิกาธรรมชาติ
9. ภาพใต้น้ำ
ไข่มหัศจรรย์ 


วัสดุอุปกรณ์ 

1. ไข่ปลอม 12 ลูก 
2. รังไข่
3. วัสดุที่ใส่ลงในไข่ คือ น้ำเปล่า  เม็ดแมงลัก ข้าวสาร กิ่งไม้ หิน ทราย
4. แบบเฉลย
5. สีน้ำ / สีไม้ / ดินสอ / ยางลบ
6. ปืนกาว / กรรไกร / คัตเตอร์

ขั้นตอนการทำ 
1. ใช้คัตเตอร์เจาะรูไข่ที่เตรียมไว้ทุกใบ 



2. ใส่วัสดุที่เตรียมไว้ลงไปในไข่ (วัสดุ 1 อย่างใส่ไข่ 2 ใบ) ใช้ปืนกาวปิดรูให้แน่น


3. จากนั้นใช้สีน้ำระบายไข่แต่ละใบให้สวยงาม โดยระบายสีที่ไม่เหมือนกัน และระบายสีตกแต่งรังไข่


4. ทำแบบเฉลย โดยจับคู่ไข่ที่วัสดุเหมือนกัน พร้อมเฉลยวัสดุที่อยู่ข้างในไข่


5. สามารถนำ ไข่มหัศจรรย์มาเล่นได้ 

วิธีเล่น 
     
       ให้เด็กได้เลือก เขย่าไข่แต่ละใบ และหาข้อแตกต่างของเสียงที่เกิดจากไข่แต่ละใบ จากนั้นให้จับคู่ไข่ที่มีเสียงเหมือนกันอยู่ด้วยกัน เมื่อเลือกจับคู่เสร็จแล้ว สามารถมาตรวจคำตอบได้ที่แบบเฉลยและรู้ด้วยว่าสิ่งของที่อยู่ข้างในไข่นั้นคืออะไร 

หลักการวิทยาศาสตร์

          ทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง โดยเสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อเราเขย่าไข่ แล้ววัสดุข้างในไข่เกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดการขยายตัวของคลื่นเสียงและถูกส่งผ่านตัวกลางทำให้เราได้ยินเสียงนั้นๆ 

บูรณาการ

-สามารถบูรณาการในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะได้ 
- สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ได้ เรื่อง ของรูปทรง การนับ ปริมาณของวัสดุ
- สามารถบูรณาการศิลปะสร้างสรรค์ได้ เรื่อง สีต่างๆ 

  • ตัวอย่างของเล่นเพื่อนๆในห้อง
- นาฬิกาธรรมชาติ


-แม่เหล็กเต้นระบำ

-วงจรของโลก

-ทวินเพลน

-ระบบสุริยะจักรวาล

-ผีเสื้อเริงระบำ

-จานหรรษา

-ภาพใต้น้ำ


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิด STEM

หลักการจัดประสบการณ์

1. หลักการเลือกหัวเรื่อง มี 2 ประเด็น คือ 

-เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กสนใจ อยู่ในชีวิตประจำวัน
-เรื่องที่ส่งผลกระทบกับตัวเด็ก

2. นำหัวข้อเรื่องมาแตกองค์ความรู้ ต้องมีหัวข้อ คือ
          - ชื่อเรียก / ประเภท / / สายพันธุ์ 
          - ลักษณะ เช่น รูปร่าง สี รสชาติ ผิว ส่วนประกอบ
          - การดูแลรักษา / การดำรงชีวิต / การเจริญเติบโต
          - การถนอนอาหาร / การแปรรูป
          - ประโยชน์
                      -ต่อตนเอง
                      -เชิงพาณิชย์
          - ข้อควรระวัง

3. เครื่องมือในการดรียนรู้ มี 2 อย่าง คือ
           -คณิตศาสตร์
           -ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน

4. เรื่องต้องสัมพันธ์กับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย มี 8 สาระ ดังนี้

สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5  พลังงาน
สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific approach)

-การตั้งขอบข่ายปัญหา
-ตั้งสมมติฐาน
-การทดลอง ใช้การสังเกต เพื่อ เป็นการรวบรวมข้อมูล
-วิเคราะห์ สรุป อภิปราย

6. ต้องคำนึงถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือ จิตวิทยาศาสตร์ 
- การอยากรู้ อยากเห็น จึงทำให้เกิดข้อสงสัยหรือปัญหา
-ความเพียรพยายาม
-ความรอบคอบ มีระเบียบ
-ความซื่อสัตย์
-การมีเหตุผล ยอมรับตามเหตุผล
-มีความใจกว้าง

ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง ส้ม  (กลุ่มตัวเอง)


ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง กล้วย



ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง น้ำ


ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้ เรื่อง ไก่


Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
-การนำเสนอ

Application (การประยุกต์ใช้)
-ในการทำมายแม็บแตกองค์ความรู้ เราได้รู้หลักการเขียนมายแม็บให้ถูกวิธี และได้ลองเขียนคิดค้นหาองค์ความรู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนครั้งต่อไป

Teacher (อาจารย์)
-แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์สอนเข้าใจ และคอยบอกทีละขั้นตอน

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนแสดงความคิดเห็นในการทำงาน

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจคิดกิจกรรม มีความรู้พื้นฐาน

Environment (สภาพแวดล้อม)
-บรรยากาศในห้องอบอุ่น โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น