Science Experiences Management for Early Childhood (การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) กลุ่มเรียน 102

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



*งดการเรียนการสอน เนื่องจาก สอบกลางภาค*

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)
  • ฝึกคัดลายมือหัวกลมตัวเหลี่ยม ครั้งที่ 3 
  • ภาพ 3 มิติ 
โดยวาดรูปมือของเราก่อน จากนั้นลากเป็นเส้นตรงและโค้งตามรูปมือของเรา จะทำให้ภาพนั้นเหมือนจริง หรือเป็นมิติขึ้นมานั้นเอง ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็ก เพราะเป็นกิจกรรมที่ง่ายและยังได้ความรู้เรื่องภาพ 3 มิติ อีกด้วย 

  •  ภาพติดตา และ ภาพเปิดปิด
ภาพเปิดปิด

ภาพติดตา 

การเห็นภาพติดตา (Persistence of vision)
การเห็นภาพติดตา หมายถึง ความรู้สึกในการเห็นภาพค้างอยู่ในสมองได้ชั่วขณะทั้งๆ ที่ไม่มีภาพของวัตถุนั้นอยู่บนจอภาพแล้วระยะเวลาในการเห็นภาพติดตา คนปกติมีระยะเวลาในการเห็นภาพติดตาประมาณ 1/15-1/10 วินาที

ซึ่งกิจกรรม 1 อย่าง เราสามารถนำมาดัดแปลงได้หลากหลายลักษณะตามเทคนิคการสอนของเรา เช่น เราสามารถดัดแปลงภาพติดตาให้เป็นรูปแบบหมุนได้ ซึ่งช่วยดึงดูดความสนใจและเป็นสิ่งแปลกใหม่ 

  • ตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์ 
หลักการเรื่อง แรงหนีจากศูนย์กลาง เช่น ลูกข่างหลากสี / ลูกข่างแผ่นซีดี / คอปเตอร์พลาสติก 


หลักการเรื่อง แรงพยุง เช่น ลมชูชีพ 
หลักการเรื่อง แรงดันอากาศ เช่น แผ่นซีดีเป่าให้ลอย / หลอดเลี้ยงลูกบอล / ฟองสบู่ / เป่ารูปสัตว์ 


หลักการเรื่อง ความสมดุล เช่น เหรียญถ่วงสมดุล / ตุ๊กตาล้มลุก 


หลักการเรื่อง การเกิดเสียง เช่น กลอง / โทรศัพท์ / กีตาร์ / กลองแบบดีด / พัดเกิดเสียง 
หลักการเหวี่ยง  (Momentum) เช่น กรวยเหวี่ยง
หลักการเรื่อง แรงสะสม เช่น รถกระป๋อง 
หลักการเรื่อง ความหนาแน่ เช่น ทะเลจำลอง / เรือใบลอยน้ำ

  • การทดลองเรื่อง คุณสมบัติของน้ำ(water features)
-นำน้ำใส่กรวยทั้งสองข้าง จากนั้นเอียงกรวยข้างใดข้างหนึ่ง ปรากฏว่าน้ำในสายยางยังคงมีปริมาณทั้งที่เท่ากันทั้งสองข้าง 

-ถ้ายกน้ำพุไว้ที่สูง น้ำจะไม่ไหลออกมา แต่ถ้าวางลงที่ต่ำน้ำจะค่อยๆไหลและถ้าต่ำมากน้ำจะพุ่งสูงขึ้นเหมือนน้ำพุ

จากการทดลองทำให้ทราบคุณสมบัติของน้ำคือ น้ำเป็นของเหลว ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ไหลเข้าหาที่อยู่ตามรูปทรงนั้นและรักษาระดับของตัวเอง
  • การทดลองดอกไม้บาน
1. ตัดแบ่งกระดาษเป็น 4 ส่วน

2. วาดภาพดอกไม้ที่ชอบแล้วตัดมาออกมา จากนั้นใช้สีเมจิทำเกศรดอกไม้

3. นำดอกไม้ที่ได้พับกลีบเข้าหากัน

4. จากนั้นนำไปลอยน้ำ และสังเกตการเปลี่ยนแปลง

สังเกตได้ว่า ดอกไม้ของเราจะค่อยๆบานออกมา และสิเมจิที่เราวาดลงไปจะค่อยซึมลงไปในน้ำ

จากการทดลอง (experiment)นี้ทำให้เรารู้ว่า เมื่อโมเลกุล (molecular) ของกระดาษมีช่องว่างน้ำจะซึมเข้าไปในเยื้อกระดาษทำให้กระดาษบานออก และถ้าเราทิ้งไว้นานๆ กระดาษของเราก็จะจมเพราะน้ำซึมเข้าไปทำให้มวลกระดาษหนักขึ้นนั่นเอง

กิจกรรมนี้สามารถบูรณาการในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กได้ เช่น 
-การลวกเส้นก๊วยเตี๋ยว
-การแช่ดอกไม้ให้บานสวยงาม
-การแช่เห็ดหนู
-กระดาษชิชู

ดังนั้นการเลือกกิจกรรมให้เด็กต้องให้กิจกรรมนั้นมีความหลากหลาย สามารถใช้ในชีวติประจำวันได้ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และบูรณาการได้หลายวิชา 

Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น
-การนำเสนอ

Application (การประยุกต์ใช้)
-รู้แนวทางของการจัดกิจกรรมให้เด็ก ว่าเราสามารถแตกความคิดที่หลากหลาย ดัดแปลงสิ่งใกล้ตัว และใช้เทคนิคที่เรามีมาทำให้กิจกรรมเดียวให้แตกแยกออกไปได้ในสิ่งแปลกใหม่และความรู้ใหม่ๆให้แก่เด็กได้

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย สอนเข้าใจเพราะอธิบายละเอียด ใช้คำถามในการทำกิจกรรม

Self (ตนเอง)
-ตั้งใจเรียน จดบันทึกความรู้ต่างๆร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ

Friends (เพื่อน)
-มีความคิดหลากหลายในการประดิษฐ์ของเล่น ช่วยกันคิดวิเคราะห์และตอบคำถาม

Environment (สภาพแวดล้อม)
-อุปกรณ์การเรียนการสอนพร้อม บรรยากาศอบอุ่นไม่เครียด


วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)
  • ฝึกคัดลายมือ ตัวหนังสือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม เพื่อให้เด็กเห็นลายมือที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อ่านง่ายและฝึกความสวยงาม 
  • หลักการประดิษฐ์ของเล่นวิทยศาสตร์
ควรประดิษฐ์ของเล่นให้มีความหลายหลาย สามารถยืดหยุ่นได้ และเห็นถึงความแตกต่าง ทำให้เด็กได้รู้จักการสังเกต  โดยสามารถบูรณาการได้หลายหลายสาระวิชาหรือ บูรณาการเกี่ยวกับการศึกษาแบบ STEM โดยมีสาระวิชา ดังนี้ 
  • STEM Education (สะเต็มศึกษา)
Science = วิทยาสศาสตร์
Technology = เทคโนโลยี
Engineering = วิศวกรรมศาสตร์
Mathematics = คณิตศาสตร์

เมื่อเด็กได้ลงมือปฎิบัติที่หลากหลายนั้น เด็กจะเกิดทักษะความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้

ความคิดริเริ่ม >> ความคิดคล่องแคล่ว >> ความคิดยืดหยุ่น >> ความคิดละเอียดลออ 
>> ความคิดสร้างสรรค์
  • มาตราฐานการเรียนรู้วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

  • ชมวีดีโอ เรื่อง ความลับของแสง 



ความรู้ที่ได้รับจากการชมวีดีโอ

-แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง มีความยาวสั้น สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 300000/วินาที
-แสงเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่เปลี่ยนทิศทาง เมื่อแสงกระทบวัตถุและสะท้อนเข้ามาที่ตาเรา เราจึงมองเห็นวัตถุ
-การของหักเหของแสงนั้น เกิดจากแสงจะเดินทางผ่านตัวกลางที่แตกต่างกันและเกิดการหักเหตามมุมของตัวกลางนั้นๆ
-วัตถุมี 3 ชนิด คือ
     วัตถุโปร่งแสง >>> แสงสามารถทะลุผ่านได้บางส่วน
     วัตถุโปร่งใส >>> แสงสามารถทะลุผ่านได้ทุกส่วน
     วัตถุทึบแสง >>>  แสงไม่สามารถทะลุผ่านได้ เช่น หิน เหล็ก

ตัวอย่างสิ่งการทดลอง หลักการสะท้อนแสง

กล้อง เพอริสโคป
กล้อง เพอริสโคป สามารถให้เรามองเห็นของที่อยู่สูงได้ โดยใช้หลักการสะท้อนแสง แสงจะทะลุผ่านเข้ารูบนกระทบกับวัตถุ และผ่านลงมารูล่างทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูงได้


  • สื่อวิทยาศาสตร์

หลักการสะท้อนแสง
ภาพติดตา หมายถึง ความรู้สึกในการเห็นภาพชั่วขณะ และสมองเกิดการจำและเห็นวัตุนั้นเคลื่อนที่ 

Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น

Application (การประยุกต์ใช้)
-สามารถนำ กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ ไปเป็นแนวทางความรู้ในการส้รางสื่อ สร้างของเล่น สาระการเรียนรู้ของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง และบูรณาการให้เด็กได้หลายหลายวิชาโดยผ่านการศึกษาแบบ STEM  

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอน มีสื่อตัวอย่างมาให้เราได้ดูเป็นแนวทาง และอธิบายได้ชัดเจน

Self (ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนๆช่วยกันคิด วิเคราะห์ตอบคำถาม และตั้งใจเรียนไม่ส่งเสียงดัง

Environment (สภาพแวดล้อม)
-เก้าอี้จัดเป็นระเบียบ อุปกรณ์การเรียนการสอนพร้อม แอร์เย็นอากาศหนาว

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)
  • ชมวีดีโอเกี่ยวกับ เรื่อง อากาศมหัศจรรย์ ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย


ความรู้ที่ได้รับจากการชมวีดีโอ

-อากาศ (Air) >> มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่  มีความเย็นหรือร้อน และถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศจะเคลื่อนตัว

-การทดลอง นำกระดาษชิชูใส่ลงชามใบเล็ก และนำไปคว่ำลงในน้ำปรากฏว่ากระดาษชิชูไม่เปียก แสดงให้เห็นว่า อากาศสามารถแทรกตัวได้ทุกพื้นที่ 

-อากาศร้อนะจะมีน้ำหนักเบาลง เช่น บอลลูน 

-แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงบนพื้นผิวต่างๆ

-อากาศที่ร้อนมีแรงดันต่ำกว่าอากาศเย็น

  • นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์  (Science Toys)
ของเล่นคือ แผ่นซีดีเป่าให้ลอย 


หลักการวิทยาศาสตร์ 

-การเล่น แผ่นซีดีเป่าให้ลอย จะเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ในเรื่อง แรงดันอากาศ จะสังเกตได้ว่าทำไมแผ่นซีดีจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ เพราะ เมื่อเราเป่าลมเข้าไปทางสายยางนั้น แรงดันลมจะทำให้แผ่นซีดียกตัวขึ้นและแผ่นซีเคลื่อนที่ไปมาได้นั้นเอง
*ลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่*

  • ของเล่นมี 3 ประเภท
  1. ของเล่นแบบเป็นทางการ >> ครูสอน
  2. ของเล่นแบบกึ่งทางการ >> วางไว้ให้เล่นตามมุม
  3. ของเล่นไม่เป็นทางการ 
ตัวอย่างของเล่นของเพื่อนๆ 

-ของเล่นลมชูชีพ >>> เรื่อง แรงดันอากาศ
-ของเล่นพัดจากจานกระดาษ >>> เรื่อง ลม
-ของเล่นทะเลจำลอง >>> เรื่อง ความหนาแน่น
-ของเล่นตกปลา >>> เรื่อง แรงดึงดูดแม่เหล็ก
-ของเล่นกลอง >>> เรื่อง การเกิดเสียง
-ของเล่นรถกระป๋อง >>> เรื่อง แรงดันอากาศ
-ของเล่นธนูจิ๋ว >>> เรื่อง การยืดหยุ่น
-ของเล่นหลอดเลี้ยงลูกบอล >>> เรื่อง แรงดันอากาศ 

Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การนำเสนอ
-การตอบคำถาม

Application (การประยุกต์ใช้)
-นำตัวอย่างที่หลากหลายจากของเล่นที่เพื่อนนำเสนอ ไปเป็นแนวทางในการประดิษฐิ์ของเล่นได้มากมายจากวัสดุเหลือใช้และมาสอนให้สอดคล้องกับสาระวิทยาศาสตร์

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์มีวิธีการสอนหลากหลายให้เราได้ดู เช่นการให้ประดิษฐิ์ของเล่นมาแบ่งปันกัน ซึ่งมีหลากหลาย และอาจารย์นำมาต่อยอดจากของเล่นที่เราทำ

Self (ตนเอง)
- นำเสนองานได้ดี ไม่มีข้อเสนอเพิ่มเติม

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจดูวีดีโอและไม่สงเสียงดัง นำเสนอของเล่นได้ดี

Environment (สภาพแวดล้อม)
-วันนี้มาดูวีดีโอที่ห้องสมุด ตื่นเต้นกับห้องภาพยนต์ โต๊ะเก้าอี้พร้อมเรียบร้อยสะอาดเป็นระเบียบ


วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 - 17.30 น.



knowledge (ความรู้)

  • ฝีกการคัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม เป็นสิ่งจำเป็นที่ครูปฐมวัยควรมี เพราะการเขียนตัวหนังสือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมจะช่วยให้เด็กเห็นชัดเจนขึ้น และสวยงามเป็นระเบียบ

  • กิจกรรมการทำสื่อในการเรียนการสอน โดยอาจารย์แจกอุปกรณ์ให้ 2 ชิ้น คือ 
-คลิปติดกระดาษ 1 อัน
-กระดาษแข็ง 1 แผ่น


โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม 

-กลุ่มเรื่อง การเกิดฝน 
-กลุ่มเรื่อง ลม (wind)
-กลุ่มเรื่อง พลังงานลม (Wind power)
-กลุ่มเรื่อง แรงต้านอากาศ 
-กลุ่มเรื่อง วงจรฤดูกาล (Season)
-กลุ่มเรื่อง ลมบกลมทะเล แกไขเป็นเรื่อง แรงดันอากาศ 

  • เรื่อง ลมบกลมทะเล 

ขั้นนำ
-เก็บเด็กด้วยเพลง กำมือซ้าย กำมือขวา 
-จากนั้นร้องเพลง โอ้ทะเลแสนงาม ใช้คำถามว่า "เด็กๆเคยเห็นอะไรบ้างที่ทะเล"

ขั้นสอน
-ให้ความรู้เกี่ยวกับ ลมบก ลมทะเล
-จากนั้นสอนเด็กพับเรือ
-ให้เด็กเล่นเกม โดยแบ่งวงกลมเป็น 2 วง มีลมบก กับลมทะเล เมื่อครูพูดชื่อ ลมบกหรือลมทะเลให้เด็กเข้าไปอยู่ในวงนั้น

ขั้นสรุป
-ทบทวนความรู้เรื่อง ลมบก ลมทะเล

**จากการนำเสนอสื่อ อาจารย์ให้คำแนะนำว่า การเลือกเรื่องต้องเลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก หรือเรื่องที่มีผลกระทบกับเด็ก **

แก้ไขหัวข้อเรื่อง เป็นเรื่อง แรงดันอากาศ 
- โดยให้เด็กพับเรือ และใช้กระดาษ 2 แบบในการเป่า คือ แบบม้วนยาว และแบบกรวย ให้เด็กได้ทดลองว่าอันไหนสามารถเป่าแล้วเร็วกว่ากัน 

วิธีการ คือ ความดันของอากาศ และแรงดันของอากาศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่
  • วิธีการเรียนรู้ >> ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory Motor) และมีประสบการณ์ตรงสามารถต่อยอดความรู้เดิม เลือกและทำอย่างอิสระ คือ การเล่น 
  • การทำงานของสมองจัดลำดับเป็นไปตามช่วงอายุ นั้นคือ พัฒนาการ (development) และนำพัฒนาการมาเขียนเป็น คุณลักษณะตามวัย 

ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ 
ของเล่น แผ่นซีดีเป่าให้ลอย

วัสดุอุปกรณ์

1. แผ่นซีดี (CD)
2. สายยางเส้นเล็กประมาณ 1 เมตร (rubber band)
3. ฝาขวดน้ำ (lidbottle)
4. กรรไกร (scissors)
5. กาว (glue)
6. คัตเตอร์ (Cutter)


ขั้นตอนการทำ

1. ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์เจาะรูฝาขวดให้อยู่ตรงกลาง

2. จากนั้นนำสายยางใส่เข้าไปในรูฝาขวด และติดกาวทั้งด้านใน และ ด้านนอกของฝาขวด

3. เมื่อกาวแห้ง นำฝาขวดที่ได้มาติดกับแผ่นซีดี

4. เสร็จแล้ว เราสามารถนำแผ่นซีดีเป่าให้ลอย มาเล่นได้

วิธีเล่น 
- ใช้ปากเป่าสายยาง แล้วแผ่นซีดีจะเคลื่อนที่ไปมา 

หลักการวิทยาศาสตร์ 
-การเล่น แผ่นซีดีเป่าให้ลอย จะเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ในเรื่อง แรงดันอากาศ จะสังเกตได้ว่าทำไมแผ่นซีดีจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ เพราะ เมื่อเราเป่าลมเข้าไปทางสายยางนั้น แรงดันลมจะทำให้แผ่นซีดียกตัวขึ้นและแผ่นซีเคลื่อนที่ไปมาได้นั้นเอง
*ลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่*

Skill (ทักษะ)
-การคิดวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การทำงานเป็นกลุ่ม

Application (การประยุกต์ใช้)
-เราได้รู้วิธีการนำสาระไปสอนได้ถูก รู้วิธีแนวทางการเลือกเรื่องในการสอน หรือ การจัดทำสื่อการสอนให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง 

Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มีวิธีการสอนให้เราได้คิดวิเคราะห์ใช้ความรู้เดิมแล้วความคิดสร้างสรรค์ และอาจารย์จะช่วยต่อยอดและแนะแนวทางให้

Self (ตนเอง)
- ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ช่วยเพื่อนตอบคำถามและช่วยคิดเรื่อง

Friends (เพื่อน)
-เพื่อนๆมีความคิดสร้างสรรค์และความรู้ในการเลือกเรื่อง ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถาม

Environment (สภาพแวดล้อม)
-โต๊ะเก้าอี้เป็นระเบียบ บรรยากาศในห้องอบอุ่น